สิทธิของลูกจ้างกับการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม

การเลิกจ้างไม่เป็นธรรม หมายถึง การที่นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างโดยไม่มีเหตุอันสมควร รวมตลอดถึงเลิกจ้างโดยไม่มีกฎหมายกำหนดให้เลิกจ้างได้
การเลิกจ้าง-นายจ้างมีหน้าที่ดังต่อไปนี้
1. ต้องบอกกล่าวเลิกจ้างให้ลูกจ้างทราบเมื่อจะถึงหรือก่อนจะถึงกำหนดจ่ายค่าจ้างเพื่อให้มีผลเลิกจ้างเมื่อถึงกำหนดจ่ายค่าจ้างคราวถัดไปข้างหน้า แต่ไม่จำต้องบอกกล่าวล่วงหน้าเกิน 3 เดือน หรือนายจ้างอาจให้ลูกจ้างออกจากงานทันทีโดยยอมจ่ายค่าจ้างล่วงหน้าก็ได้
2. ต้องจ่ายค่าชดเชยดังต่อไปนี้
มาตรา 118 ให้นายจ้างจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างซึ่งเลิกจ้างดังต่อไปนี้
(1) ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันครบหนึ่งร้อยยี่สิบวันแต่ไม่ครบหนึ่งปีให้จ่ายไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้ายสามสิบวันหรือไม่น้อยกว่าค่าจ้างของการทำงานสามสิบวันสุดท้ายสำหรับลูกจ้างซึ่งได้รับค่าจ้างตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วย
(2) ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันครบหนึ่งปีแต่ไม่ครบสามปีให้จ่ายไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้ายเก้าสิบวันหรือไม่น้อยกว่าค่าจ้างของการทำงานเก้าสิบวันสุดท้ายสำหรับลูกจ้างซึ่งได้รับค่าจ้างตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วย
(3) ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันครบสามปีแต่ไม่ครบหกปีให้จ่ายไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้ายหนึ่งร้อยแปดสิบวันหรือไม่น้อยกว่าค่าจ้างของการทำงานหนึ่งร้อยแปดสิบวันสุดท้ายสำหรับลูกจ้างซึ่งได้รับค่าจ้างตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วย
(4) ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันครบหกปีแต่ไม่ครบสิบปีให้จ่ายไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้ายสองร้อยสี่สิบวัน หรือไม่น้อยกว่าค่าจ้างของการทำงานสองร้อยสี่สิบวันสุดท้ายสำหรับลูกจ้างซึ่งได้รับค่าจ้างตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วย
(5) ลูกล้างซึ่งทำงานติดต่อกันครบสิบปีขึ้นไปให้จ่ายไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้ายสามร้อยวันหรือไม่น้อยกว่าค่าจ้างของการทำงานสามร้อยวันสุดท้ายสำหรับลูกจ้างซึ่งได้รับค่าจ้างตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วย

3. ค่าเสียหายจากการเลิกจ้าง
นายจ้างต้องค่าชดใช้ค่าเสียหายจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมจำนวนหนึ่ง โดยคำนึงถึงระยะเวลาการทำงาน , อายุ , ความเดือนร้อนของลูกจ้างเมื่อถูกเลิกจ้าง ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน มาตรา 49

เว้นแต่

1. ลูกจ้างทุจริตต่อหน้าที่ หรือกระทำความผิดอาญาโดยเจตนาแก่นายจ้าง
2. จงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหาย
3. ประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้นายจ้างได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรง
4.ฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานหรือระเบียบหรือคำสั่งของนายจ้างอันชอบด้วยกฎหมายและเป็นธรรม และนายจ้างได้ตักเตือนเป็นหนังสือแล้ว เว้นแต่กรณีร้ายแรงนายจ้างไม่จำเป็นต้องตักเตือน หนังสือตักเตือนให้มีผลบังคับได้ไม่เกิน 1 ปีนับแต่วันที่ลูกจ้างได้กระทำผิด
5. ละทิ้งหน้าที่เป็นเวลา 3 วันทำงานติดต่อกันไม่ว่าจะมีวันหยุดคั่นหรือไม่ก็ตามโดยไม่มีเหตุอันสมควร
6. ได้รับโทษจำคุกตามคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ

เมื่อถูกเลิกจ้างไม่เป็นธรรม ลูกจ้างต้องทำอย่างไร?

1. ยื่นคำร้องต่อพนักงานตรวจแรงงาน โดยต่างจังหวัดยื่นที่สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัด และในเขตกรุงเทพ ยื่นได้ที่กลุ่มงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน

เมื่อได้รับคำร้องแล้วพนักงานตรวจแรงงานก็จะเรียกนายจ้างและลูกจ้างมาสอบถามข้อเท็จจริง และทำการวินิจฉัยว่าเป็นการเลิกจ้างโดยชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ เมื่อมีคำสั่งออกมาลูกจ้างไม่เห็นชอบด้วย ก็มีสิทธิที่จะอุทธรณ์คำสั่ง พนักงานตรวจแรงงาน ต่ออธิบดีกระทรวงแรงงานและหากลูกจ้างยังไม่พอใจมีสิทธิที่จะร้องขอต่อศาลแรงงานให้เพิกถอนคำสั่งพนักงานตรวจแรงงานได้

2. ยื่นฟ้องต่อศาลแรงงาน
1.ขอให้นายจ้างรับกลับเข้าทำงานในตำแหน่งเดิมและสภาพการจ้างเดิม
2.กรณีไม่อาจทำงานร่วมกันต่อไปได้ สามารพเรียกค่าเสียหายจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม

ทนายความประชาชน
ชมรมปรึกษาคดีฟรี ทั่วประเทศฯ (ช ป.ท.)
hello! I am an admin of the People's Lawyer - Free Legal Consultation Club Nationwide (Chor.Por.T.A.) giving advice - like a relative - free of charge, call or add Line 089 214 2456
สวัสดี! ฉันเป็นแอดมินของทนายอาสา - ชมรมปรึกษาคดีฟรีทั่วประเทศฯ (ช.ป.ท.) ให้คำปรึกษา- ดุจญาติมิตร - ไม่คิดค่าใช้จ่าย โทร.หรือ แอดไลน์ 089 214 2456


X
ติดตั้ง แอพพลิเคชั่น บนมือถือ

🌈👉ติดตั้ง แอปพลิเคชัน👈🌈

💖⚖️“ (ทนายความประชาชน) ”⚖️💖

https://play.google.com/store/apps/

X
ติดตั้ง แอพพลิเคชั่น บนมือถือ